โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองตำบลแก้มอ้น ปี 2560

4 เมษายน 2560
 ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์
ข้อมูลรูปที่เกี่ยวข้อง

หนึ่งในโรคร้ายที่ผู้หญิงทั่วโลกต่างหวาดกลัวคือ มะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง และมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด แต่ความน่ากลัวของมะเร็งเต้านมจะลดลงตามความเร็วในการค้นพบ ดังนั้น ศ.นพ.ศุภกร โรจนนินท์ ผู้อำนวยการศูนย์เต้านม โรงพยาบาลวัฒโนสถ (โรงพยาบาลรักษาเฉพาะทางด้านโรคมะเร็งที่โรงพยาบาลกรุงเทพ) จึงแนะนำให้ผู้หญิงไทยใส่ใจกับการตรวจหามะเร็งเต้านมอย่างจริงจัง เพราะยิ่งพบเร็วเท่าไร ยิ่งลดความรุนแรงของโรคและอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลงได้มากเท่านั้น

โรคร้ายที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

“มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีปัจจัยหนุนคือฮอร์โมนเอสโตรเจนที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อเต้านมจนเจริญเติบโตผิดปกติ และร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตที่ผิดปกตินั้นได้ ทำให้เซลล์เหล่านั้นกลายเป็นเซลล์มะเร็งและโตอย่างรวดเร็วซึ่งอาจแพร่กระจายออกไปยังอวัยวะอื่นๆ”

“ความจริงแล้วมะเร็งเต้านมมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดที่เกิดจากท่อน้ำนม เมื่อเซลล์มะเร็งแบ่งตัวจนทะลุเนื้อเยื่อของท่อน้ำนมเข้าไปถึงท่อนำเหลืองหรือเส้นเลือด ก็จะแพร่กระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก ตับ ปอด หรือสมอง ซึ่งจดเด่นของมะเร็งเต้านมคือไม่มีอาการให้ทรมาน ไม่เจ็บ ไม่ปวด มีเพียงก้อนเนื้อให้สัมผัสได้ แต่ไม่รู้สึก หลายคนละเลยจนเข้าสู่ระยะลุกลามปล่อยทิ้งไว้จนเกิดอาการที่ตามมา เช่น เต้านมบวมผิดปกติ แตก เน่า เป็นแผลแล้วค่อยไปพบแพทย์ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้แล้ว”

ความเสี่ยงสูงในวัย 40

“จากสถิติพบว่าอายุเฉลี่ยของคนไข้ที่พบมะเร็งเต้านมมากที่สุดคือ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งจริงๆ แล้ว เซลล์มะเร็งอาจจะก่อตัวก่อนหน้านั้น แต่เพิ่งมาตรวจพบในช่วงวัยดังกล่าว เพราะมะเร็งเต้านมค่อนข้างโตช้า กว่าจะโตจากขนาด 1 เซนติเมตรไปสู่ 2 เซนติเมตรต้องใช้เวลาประมาณ 90-180 วัน ดังนั้นกว่าจะเปลี่ยนแปลงจากเซลล์เดียวจนมีขนาด 1 เซนติเมตรได้จึงต้องใช้เวลาเป็นปี แสดงว่าก่อนจะตรวจพบด้วยตัวเอง เซลล์มะเร็งอาจจะเริ่มก่อตัวแล้วก็เป็นได้

“ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมคือ บุคคลที่มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านมเกินสองคนขึ้นไป เช่น แม่ พี่สาว หรือน้องสาว คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นถึงสิบเท่า และมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเร็วขึ้น ดังนั้นจึงต้องตรวจหาความผิดปกติด้วยตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงตรวจด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) และอัลตราซาวน์ (Ultrasound)”

ข้อมูลไฟล์ที่เกี่ยวข้อง